ประวัติความเป็นมา

จัดตั้ง "สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย" ขึ้นในปี พ.ศ. 2521

โดยได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเป็นสมาคมจากกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2521

ผู้สนับสนุน

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • 11
  • 12
  • 13
  • 14
  • 15
  • 16
  • 17
  • 18

จากการที่ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ โดยเริ่มให้การส่งเสริมการลงทุนตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจัง ในระยะนั้นการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อขายอะไหล่

ต่อมาได้มีการตั้งโรงประกอบรถยนต์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผลิตชิ้นส่วนฯ พัฒนาเป็นการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม อีกทั้งโรงงานประกอบรถยนต์เริ่มใช้ชิ้นส่วนฯ ที่ผลิตภายในประเทศ ทำให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โรงงานผลิตชิ้นส่วนฯ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและสามารถผลิตได้หลากหลายประเภท

ในระหว่างปี พ.ศ. 2512-2520 รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ขึ้น เพื่อกำหนดนโยบายส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนภาคเอกชนนั้น ผู้ประกอบการด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ได้รวมตัวกันเป็นชมรมในสมาคมอุตส าหกรรมไทยเพื่อร่วมให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ในทิศทางและความเป็นไปได้ของนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ จนกระทั่งปี 2514 รัฐบาลมีนโยบายจำกัดแบบรถยนต์ที่ประกอบภายในประเทศในอัตราร้อยละ 25 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2516 ต่อมานโยบายดังกล่าวถูกยกเลิกคงไว้เฉพาะการกำหนดชิ้นส่วนร้อยละ 25 แต่เลื่อนกำหนดออกไปเป็นภายในวันที่ 1 มกราคม 2518 ชมรมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ เห็นว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ภายในประเทศจำเป็นต้องมีความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นเอกเทศในการเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ จึงร่วมกันจัดตั้ง "สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย" ขึ้นในปี พ.ศ. 2521 (โดยได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเป็นสมาคมจากกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2521) เพื่อเป็นศูนย์รวมของนักอุตสาหกรรมด้านชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศ ในอันที่จะปกป้อง รักษา ส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของชาติให้ เจริญเติบโต เข็มแข็ง และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

image

แม้ที่ผ่านมาสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยมีคณะผู้บริหารสมาคมฯ เพียง 9 ชุด แต่หากเป็นคณะทำงานที่ล้วนมีความเข็มแข็ง สิ่งหนึ่งที่ได้ดำเนินการสานต่ออย่างต่อเนื่องและไม่เปลี่ยนแปลง คือ การแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ และปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนเทคโนโลยีการผลิต ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการแข่งขัน ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) และวิศวกร ฯลฯ ปัจจุบันสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐบาลและสมาชิกกว่า 650 บริษัท ให้เป็นผู้แทนภาคเอกชนด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ของชาติสืบไป