กฏหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับ FTA

 

 

ผู้สนับสนุน

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • 11
  • 12
  • 13
  • 14
  • 15
  • 16
  • 17
  • 18

สถานะ/ความคืบหน้า การเจรจา FTA  ที่อยู่ระหว่างการเจรจา

กรมการค้าต่างประเทศ แจ้งข่าวดี

ไทย - มาเลเซีย จะเริ่มใช้ระบบลงลายมือชื่อและตราประทับด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ESS) ในการออก Form E แทนการใช้ลงลายมือชื่อและประทับตราแบบสดด้วยมือ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ที่จะถึงนี้ คาดส่งผลดี ช่วยอำนวยความสะดวก

ด้วยกรมศุลกากรได้ออกประกาศที่ ๘๒/๒๕๖๖ เรื่องหลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ฉบับที่ 2) ซึ่งเป็นการระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำเข้าด้วย Form E นั้น
สมาคมฯ ขอนำส่งประกาศดังกล่าวตามเอกสารแนบ โดย
- สาระสำคัญของจดหมายฉบับนี้ ที่สมาชิกควรทราบ ได้แก่ การอนุญาตให้มีการใช้ E-Form ที่ปริ้นออกมาจากระบบได้ แต่การปริ้นนั้น จะต้องดำเนินการโดยผู้ส่งออกและผู้ส่งออกเป็นผู้ส่งฟอร์มที่ปริ้นจากระบบมาให้กับผู้นำเข้าเท่านั้น

ตามที่สมาคมฯ ได้ทำเรื่องขอขยายระยะเวลาการแสดงสำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งจะสิ้นสุดการผ่อนผันตามประกาศกรมศุลกากรฉบับที่ 50/2564 ในวันที่ 30 ก.ย.64 นั้น

สิทธิ GSP คืออะไร ??

         GSP ย่อมาจาก Generalized System of Preferences เป็นมาตรการหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organisation หรือ WTO) ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ในรูปแบบของการลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้าแก่สินค้าที่อยู่ในข่ายที่ได้รับสิทธิ GSP ตามแต่ระบบใดจะกำหนดขึ้น ทั้งนี้ประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ จะเป็นผู้ให้แต่เพียงฝ่ายเดียว (เป็นสิทธิให้เปล่า)

FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร